หอยทะเล

หอยพัดราชา

หอยพัดราชา มีขนาดใหญ่ โตเต็มที่ประมาณ 7-8 ซม.เป็นหอยที่ยังพบได้ ตามพื้นทรายใกล้แนวปะการัง ทางด้านทะเลอันดามัน หรือมหาสมุทรอินเดีย เมื่ออยู่ในน้ำจะเห็นมีตากลมสีน้ำเงิน เรียงเป็นแถวตรงขอบฝา ซึ่งทำให้มันรับรู้และหนีศัตรูได้ทัน


หอยหวี

เป็นหอยที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลน ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน หอยชนิดนี้เป็นนักล่าโดยมันจะเจาะเปลือกของหอยอื่น เช่น หอยลาย แล้วยื่นปากที่เป็นงวงเข้าไปกินเนื้อหอยนุ่ม ๆ หอยตามในภาพพบได้น้อย ความยาวของตัวเปลือกประมาณ 12 ซม.


  
หอยฉมวก

เป็นพวกเดียวกับหอยสังข์ เป็นหอยที่อาศัยอยู่บนพื้นทรายในระดับความลึก 5-50 เมตร ในแถบมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเปลือกที่เป็นท่อยาว ๆ เป็นลักษณะเด่นที่เป็นที่นิยมของพวกนักสะสม กินสาหร่ายทะเลเล็ก ๆ และอินทรีย์สารต่าง ๆ มักจะติดกับอวนลาก ขึ้นมา



หอยแสงอาทิตย์

หอยฝาคู่ ที่มีเปลือกบางใส เปราะและแตกง่าย เปลือกสีม่วงมีเส้นรัศมี 4 แถบ คล้ายแสงอาทิตย์ สีสันสะดุดตา ขนาดโดยประมาณ 5 ซม อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึกปานกลาง แถบมหาสมุทรอินเดีย แถบภูเก็ต และพังงา พบบ่อยที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาค้างตามแนวชายหาด



หอยกระต่าย

แค่ชื่อก็น่ารักครับ หอยกระต่าย อาศัยอยู่ตามพื้นทรายหรือทรายปนโคลน นอกชายฝั่งทะเล ความยาว 5-7 ซม. พบในน่านน้ำไทยด้วย มันเป็นหอยที่ล่าเม่นทะเล เป็นอาหาร



หอยเจดีย์


หอยเจดีย์ชั้นเป็นหอยที่หายากชนิดหนึ่ง มีเปลือกบาง สีขาว พบอาศัยในพื้นทรายและแนวปะการัง บางทีก็อาศัยอยู่ร่วมกันดอกไม้ทะเล ในระดับความลึก 50 เมตร ส่วนใหญ่ที่พบ มักจะติดอวนลากขึ้นมา บางทีก็เจอขนาดเล็ก เปลือกไม่สมบูรณ์ บริเวณชายหาด ปะปนกับเปลือกหอยอื่น ๆ




หอยมวนพลู


หอยมวนพลู หรือ หอยเจดีย์ ที่เราเรียกกันคุ้นเคย หอยชนิดนี้ ยังแยกออกมาอีกหลายชนิดครับ เจ้าหอยชนิดที่เห็นในรูป อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นเลน ระดับน้ำลึกประมาณ 10 เมตร เรามักจะพบเปลือกของมัน ตามหาดทรายบางแห่ง ที่เป็นหาดทรายปนเลน เคยพบอยู่เป็นประจำ ในทะเลแถบจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น