โลมา

ปลาโลมาหลังโหนก  



ปลาโลมาหลังโหนกนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับปลาโลมาปากขวดทั่วๆไป และยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไรสีของมันก็จะจางลงไปเรี่อย ๆ โคนครีบหลังนั้นจะเป็นฐานกว้างโค้งลงด้านหลัง และในบางครั้งนั้นเราอาจพบว่าฐานครีบนั้นมีความกว้างถึงหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ซึ่งในทะเลนั้นเราสามารถสังเกตเห็นปลาโลมาชนิดนี้ได้ซึ่งจะมีลำตัวที่บึกบึนกลมยาวสีทองขาวบนหลังครีบนั้นเป็นโหนก




ปลาโลมาอิรวดี

ปลาโลมาอิรวดี นั้นมีลักษณะที่คล้ายกันกับ ปลาวาฬ ที่มีความสัมพันธ์แบบกล้ชิดกันกับปลาวาฬนักล่า ซึ่งหัวของปลาโลมาอิรวดีนั้นจะมีลักษณะที่กว้าง ไม่มีรอยหยัก ครีบหน้านั้นจะเล็กส่วนครีบบนหลังนั้นจะเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งมน มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีสีเทาดำ ถึงสีเทาสว่าง ลำตัวมีความยาวประมาณ 275 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยออกมาแล้วมีความยาว 210 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 115 – 130 กิโลกรัม


ปลาโลมาริซโซส์

ปลาโลมาริซโซส์นั้นจะมีขนาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของตระกูล ซึ่งเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาด ประมาณ 4 เมตร ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งร่างกายส่วนหน้านั้นจะมีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก ครีบส่วนหน้าจะเป็นครีบที่มีความยาวที่สุดในทุกส่วนของร่างกายปลาโลมา ส่วนหัวนั้นจะมีรูปร่างแบบกระเปาะ และ มีรอยย่นในแนวตรงยาวของพื้นที่ส่วนหน้า สีจะเปลี่ยนไปตามอายุขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงอายุไม่มากจะมีสีเทาถึงน้ำตาล หลังจากนั้นก็จะมีสีดำ และเริ่มมีสีสว่างขึ้นเรื่อยๆพร้อมกับการเข้าสู่วัยเจริญเติบโต
  


ปลาโลมาปากขวด


ปลาโลมาปากขวดนั้นได้มีการบันทึกไว้ว่าเป็นปลาโลมาที่มีลำตัวขนาดกลาง ร่างกายกำยำ มีครีบโค้งปานกลาง มีสีดำ เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาว 2- 3.8 เมตร มีน้ำหนัก 220 – 500 กิโลกรัม (เฉลี่ย 242 กิโลกรัม) แต่จะมีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งขนาดของร่างกายจะมีความแปรผันเปลี่ยนแปลงที่ตรงกันข้ามกันกับอุณหภูมิของน้ำในแต่ละส่วนของโลมา

โลมากระโดด

มีรูปร่างเพรียวปากค่อนข้างเล็กยาว จึงดูคล้ายมียาวกว่าโลมาชนิดอื่น ลำตัวสีน้ำเงินเข้มด้านหลังมีแนวแบ่งสีจางข้างลำตัวแถบสีเข้ม พาดจากตาไปจรดครีบข้างขนาดโตเต็มที่ยาว 2.1 เมตรปากเล็กยาวมีฟัน 45-65 คู่ บนขากรรไกรแต่ละข้าง ขนาดโตถึงวัยผสมพันธุ์ได้ความยาว ประมาณ 1.7 เมตร ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 10 เดือน ลูกโลมาแรกเกิดความยาว 70-85 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบมากทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน


โลมาลายจุด


คล้ายโลมากระโดด ลำตัวเพรียวสีเทาดำตลอดตัว มีจุดประด่างสีเทาประปรายที่ปากล่างและตามลำตัว เมื่อเสียชีวิตแล้วจุดด่างจะจางมากจนแทบมองไม่ออก ปากเรียวเล็กหน้าผากค่อนข้างลาดจึงดูหัวเล็กฟันซี่เล็กแหลม จำนวน 35-45 คู่ขนาดโตเต็มที่ มีรายงานพบยาว 2.3 เมตร ในประเทศไทยพบในหลายจังหวัดทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน


พะยูน



พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเล เชื่อว่าพะยูนเคยอาศัยหากินอยู่บนบก และมีบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกับบรรพบุรุษของช้าง เมื่อราว 55 ล้านปีมาแล้วสายพันธุ์ของพะยูนได้วิวัฒนาการลงไปอยู่ในน้ำและไม่กลับขึ้นมาอยู่บนบกอีกเลย เช่นเดียวกับพวกโลมาและปลาวาฬ  พะยูน มีลำตัวรูปกระสวยคล้ายโลมา ลำตัวมีสีเทาอมชมพูหรือน้ำตาลเทา สีของส่วนท้องอ่อนกว่า พะยูนมีขนสั้นๆประปรายตลอดลำตัวและมีขนเส้นใหญ่อยู่อย่างหนาแน่นบริเวณปาก มีตาและหูขนาดเล็กอย่างละคู่ ส่วนของหูเป็นรูเปิดเล็กๆไม่มีใบหู มีรูจมูกอยู่ชิดกันหนึ่งคู่ รูจมูกมีลิ้นปิด-เปิด พะยูนหายใจทุก 1-2 นาที มีครีบด้านหน้าหนึ่งคู่อยู่สองข้างของลำตัวและมีติ่งนมอยู่ด้านหลังของฐานครีบ ครีบทั้งสองเปลี่ยนแปลงมาจากขาคู่หน้า ภายในครีบประกอบด้วยนิ้ว 5 นิ้ว ปกติพะยูนว่ายน้ำช้าด้วยความเร็ว 1.8-2.2 ก.ม./ช.ม. พะยูนมีกระดูกที่มีโครงสร้างแน่นและหนักซึ่งเหมาะกับวิถีชีวิตของพะยูนที่อาศัยหากินอยู่ที่พื้นพะยูนไม่มีอาวุธป้องกันตัว มีเพียงลำตัวที่ใหญ่ มีหนังหนาซึ่งอาจป้องกันอันตรายจากการกัดหรือทำร้ายจากสัตว์อื่นเช่น ฉลาม เมื่อมีบาดแผลเลือดแข็งตัวได้เร็วมาก ส่วนลูกอ่อนจะอยู่กับแม่และอาศัยตัวแม่เป็นโล่กำบังที่ดี 



พะยูนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 9-10 ปีในทั้งสองเพศ ระยะตั้งท้องนาน 13-14 เดือน คลอดลูกครั้งละหนึ่งตัว ลูกแรกเกิดกินนมจากแม่พร้อมทั้งเริ่มหัดกินหญ้าทะเล และอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับแม่ตลอดเวลาเป็นเวลาประมาณปีครึ่งถึงสองปี ลูกพะยูนแรกเกิดยาว 1-1.2 ม. และหนัก 20-35 ก.ก. พะยูนตัวเต็มวัยมีความยาวประมาณสามเมตร ในขนาดความยาวเท่าๆกันตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อยพะยูนอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนบริเวณเส้นละติจูด 27o N ถึงละติจูด 27o S หรือจากด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกาถึงทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบันยังพบว่ามีอยู่มากในรัฐควีนสแลนด์และทางด้านตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ส่วนในประเทศอื่นๆ จำนวนพะยูนลดลงอย่างมาก หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่กินเฉพาะพืชเป็นอาหาร (Herbivor) ซึ่งได้แก่หญ้าทะเล (Seagrass) ชนิดต่างๆ ตัวเต็มวัยกินหญ้าทะเลมากถึงวันละ 30 ก.ก. หรือประมาณ 8-10% ของน้ำหนักตัว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น