ปูทะเล


ปูเสฉวน

ปูเสฉวน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา ไม่มีเปลือกแข็งแบบปูหรือกุ้ง จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มักอาศัยอยู่ตามหาดทรายชายทะเล บางชนิดอาจอาศัยอยู่ในน้ำลึก มีประมาณ 1,100 ชนิด บางสกุลอาศัยอยู่




ปูลม หรือ ปูผี


ปูลมมักถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ปูลมจะมีลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก และมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่เหมือนปูทหารที่เป็นวงกลม และมีก้านตายาว ซ้ำยังมีพฤติกรรมการหากินที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ปูลมจะไม่ปั้นทรายเป็นก้อนเหมือนปูทหาร แต่จะใช้ก้ามคีบอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์ และอินทรีย์สารต่าง ๆ เข้าปาก และมักจะทำรูอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นเลนมากกว่า แต่ก็มีพบบ้างที่บริเวณหาดทรายปูลมพบทั้งหมด 28 ชนิด โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทยได้แก่ ปูลมใหญ่ และปูลมเล็ก ซึ่งมีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันด้วย



ปูม้า


ปูม้าจัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิดลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกันปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม


ปูทะเลหรือ ปูดำ

ปูทะเล หรือ ปูดำ เป็นปูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหารมีลักษณะกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ขอบระหว่างนัยน์ตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกคราบ โดยตรงขอบหลังของกระดองจะเผยออกให้เห็นกระดองใหม่ยังเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ปูสองกระดอง ถ้าหากเป็นตัวเมียที่มีความสมบูรณ์เพศจะมีไข่อยู่ในกระดอง ซึ่งพบมากในเดือนพฤศจิกายน ปลายสุดของขาคู่ที่ 2-4 มีลักษณะแหลมเรียกว่า "ขาเดิน" ทำหน้าที่ในการเดินเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่ที่ 5 เป็นคู่สุดท้ายเรียกว่า "ขาว่ายน้ำ"ตอนปลายสุดของขาคู่นี้มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำ
  


ปูจั๊กจั่น 


ปูจั๊กจั่น ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่หมู่เกาะฮาวาย,ญี่ปุ่น,ไต้หวัน,ฟิลิปปินส์,ไทย จนไปถึงหมู่เกาะ อินโดนีเซีย และ แอฟริกาตะวันออก ลักษณะทั่วไป มีกระดองทรงรีรูปไข่กว้างทางด้านขอบกระดอง ด้านหน้ามีหนามแหลม เป็นกลุ่มจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3อัน ด้านบนมีหนามแหลมแข็งขนาดเล็ก ปลายหนามชี้ไปทางส่วนหัว ปกคลุมทั่วไป มีก้านตายาวและตั้งขึ้นสามารถเก็บลงในร่องทางด้านหน้าใต้กระดองตากระเปาะทรงรีรูปปลายก้านตา มีหนวด 2 คู่ขนาดเล็กสั้นหนวดด้านหนึ่งแยก 2  เส้นส่วนอีกคู่หนึ่งมีฐานเป็นแผ่นแข็งมีขนขึ้นโดยรอบ พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน แหล่งที่อยู่อาศัยชอบหมกตัวกับพื้นที่เป็นทรายรอบกองหินหรือแนวหินใต้น้ำระดับน้ำลึกประมาณ 60 เมตร กินอาหารที่เป็นซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื้อย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น