ปลาทะเล

ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยโครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว่า



ปลาหมอทะเล


ปลาหมอทะเล มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50-100 เซนติเมตร สีเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อนพบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆเป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก 



ปลาการ์ตูน


ปลาการ์ตูนเป็นปลามีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปประกอบด้วยสีส้ม, แดง, ดำ, เหลือง และมีสีขาวพาดกลางลำตัว 1-3 แถบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน ก็จะมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้จดจำคู่ได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันด้วย ปลาการ์ตูนอยู่กันเป็นครอบครัว กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมาก มีเขตที่อยู่ของตนเองการกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัยพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่ตามแนวปะการังกับดอกไม้ทะเล



ปลาฉลาม


             ปลาฉลามแบ่งกลุ่มตามลักษณะของโครงสร้างของกระดูกออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ ปลากระดูกอ่อน มีอยู่ด้วยกันประมาณ 800 ชนิด และปลากระดูกแข็ง มีประมาณ 24,000 ชนิด ลักษณะที่แตกต่างกันก็คือ ปลากระดูกอ่อนมีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด ตำแหน่งของปากจะอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว มีช่องเหงือก 5-7 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก มีเกล็ดมีลักษณะที่เป็นหนามแหลมไม่เรียงซ้อนกัน เพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ 1 คู่บริเวณครีบก้น หางมีลักษณะเป็นแบบไม่สมมาตร โดยแฉกบนมีขนาดใหญ่และยาวกว่าแฉกล่างหรือมีลักษณะเรียวยาวคล้ายแส้เช่น ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก ปลาโรนัน และปลาโรนิน เป็นต้น จากโครงสร้างของกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อนของปลาฉลามทำให้การศึกษาฉลามจากซากดึกดำบรรพ์เป็นไปได้ยาก เนื่องจากกระดูกอ่อนจะสลายตัวผุพังไปหมด ซากที่พอจะหลงเหลืออยู่บ้างจะเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะและกราม ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากที่สุดก็คือฟันนั่นเอง สำหรับปลากระดูกแข็งมีลักษณะแตกต่างกันที่โครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกแข็ง มีแผ่นปิดเหงือกชัดเจนก็คือตรงบริเวณกระพุ้งแก้มนั่นเอง ส่วนเกล็ดจะมีรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของปลาหรือบางชนิดก็อาจไม่มีเกล็ดหางมีหลายรูปแบบทั้งแบบสมมาตรและไม่มีสมมาตร มีปากอยู่ทางด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ส่วนมากจะออกลูกเป็นไข่    ปัจจุบันปลาฉลามถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มปลาฉลามผิวน้ำ และกลุ่มปลาฉลามหน้าดิน ซึ่งมีรูปร่างลักษณะและนิสัยที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาฉลามผิวน้ำมีรูปร่างปราดเปรียวและว่ายน้ำตลอดเวลาลักษณะของฟันเป็นฟันที่มีความแหลมคมประดุจมีดโกนเรียงกันเป็นแถวอยู่ภายในปาก ส่วนฉลามหน้าดินมีนิสัยชอบกบดานอยู่นิ่งๆมากกว่าเคลื่อนที่ ฟันมีลักษณะเป็นฟันขบ กินซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหาร ไม่ค่อยดุร้ายและส่วนใหญ่มีนิสัยขี้เล ปลาฉลามที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 30 ชนิด


ปลากระเบน


ปลากระเบน มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย



ปลาทู



ปลาทู มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทย พบทั้งหมด 3 ชนิด เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน ในอดีตเชื่อว่าปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทยมาจากเกาะไหหลำ แต่ปัจจุบันพบว่าปลาทูเกิดในอ่าวไทยเป็นปลาผิวน้ำ รวมกันเป็นฝูงบริเวณใกล้ฝั่ง พบเฉพาะบริเวณอุณหภูมิผิวน้ำไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกิน 32.5 แต่ทนความเค็มต่ำได้ถึง 20.4 จึงพบในบริเวณน้ำกร่อยได้  ปลาทูวางไข่แบบไข่ลอยน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะลอยน้ำอยู่ได้ ช่วงที่วางไข่คือกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น