เต่าทะเล

                   
             เต่าทะเล ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้นถึงแม้เต่าทะเลจะดำรงชีวิตในทะเล แต่ก็ยังคงคุณลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป เต่าทะเลมีกระดองเป็นเกล็ดปกคลุมร่างกายซึ่งได้วิวัฒนาการให้มีลักษณะเหมาะกับการว่ายน้ำ มีรูปทรงรีหรือรูปหัวใจ แต่ทว่าทั้งหัวและขาของเต่าทะเลนั้นไม่สามารถที่จะหดเข้าไปในกระดองได้อีกทั้งยังมีลำไส้ขนาดใหญ่ที่ช่วยในการย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งมีไขมันมากกว่าสัตว์เลื้อยคลานจำพวกอื่น เพื่อช่วยในการให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ส่วนขาทั้งสี่ข้างถูกพัฒนาให้แบนคล้ายพายเพื่อช่วยในการว่ายน้ำให้ดียิ่งขึ้นกว่าเต่าน้ำทั่วไปที่มีแต่พังผืด โดยขาคู่หน้าใช้ในการผลักดันและพุ้ยน้ำ ส่วนคู่หลังใช้เป็นเหมือนหางเสือกำหนดทิศทาง เต่าทะเลบางตัวสามารถที่จะว่ายน้ำได้เร็วถึง 35 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือสามารถที่จะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรนับเป็นระยะทางกว่าร้อยไมล์




เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม


เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ และสกุล เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีขนาดคล้ายผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตรเต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางบนชายหาด ประมาณ 50-150 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่
เต่ามะเฟืองจะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ของสภาพแวดล้อม หลังจากฟักตัวแล้ว โดยมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ ลูกเต่าจะคลานออกจากรัง ลงสู่ทะเลโดยทันที เนื่องจากเป็นเต่ามะเฟืองเป็นเต่าน้ำลึก จึงไม่สามารถเก็บมาอนุบาลได้เป็นเวลานานซึ่งต่างกับเต่าทะเลสายพันธุ์อื่น ในวัยเจริญพันธุ์จะเติบโตและใช้เวลาอยู่ในทะเลเกือบชั่วชีวิตเต่ามะเฟือง เนื่องจากเต่ามะเฟืองมีจะงอยปากที่สบกันเหมือนกรรไกร จึงมักกินอาหารที่อ่อนนุ่ม เช่น แมงกะพรุน แพลงก์ตอน สาหร่ายน้ำลึก



เต่าตนุ 



เต่าตนุเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้ง 4 แบน เป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น แต่ถ้าหากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าเกล็ดแต่ละเกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ขอบเกล็ดมีสีอ่อน ๆ เป็นรอยด่างและมีลายเป็นเส้นกระจายออกจากจุดสีแดงปนน้ำตาล คล้ายกับแสงของพระอาทิตย์ที่ลอดออกจากเมฆ จึงมีชื่อเรียกเต่าชนิดนี้ว่าอีกชื่อหนึ่งว่า "เต่าแสงอาทิตย์" ขณะที่ชาวตะวันตกเรียกว่า "เต่าเขียว" อันเนื่องจากมีกระดองเหลือบสีเขียวนั่นเอง พบกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นเต่าทะเลชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในน่านน้ำไทย โดยมักพบในเขตที่มีอุณหภูมิน้ำที่ค่อนข้าอุ่น คือ สูงกว่า 20 องศาเซลเซียสขึ้นไปเต่าตนุเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวก หญ้าทะเลหรือสาหร่ายทะเล โดยมีสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป เช่น ปลาหรือแมงกะพรุน เป็นอาหารรองลงไป
โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 4-7 ปี เชื่อว่าอายุยืนถึง 80 ปี[3] ฤดูวางไข่ตกอยู่ในราวเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายนในบริเวณอ่าวไทยและอยู่ในราวเดือนกันยายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทะเลอันดามัน จำนวนไข่ต่อครั้งมีตั้งแต่ 70-150 ฟอง เต่าขนาดโตเต็มที่แล้วจะว่ายน้ำหากินไปเรื่อย ๆ แต่จะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ถือกำเนิด


เต่าหัวค้อน


เต่าหัวค้อน หรือ เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ดลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า  และเต่าตนุมาก ต่างกันที่เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้ามี จำนวน 2 คู่ เท่ากับเต่าหญ้า แต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน 5 แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น ๆ และรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้ายและเป็นสันแข็งเห็นชัดเจน กระดองมีสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลส้ม ขอบชายโครงมีสันแข็ง ขณะที่ยังเป็นลูกเต่ากระดองจะยกสูง ที่สำคัญเป็นจุดเด่น คือ มีหัวขนาดใหญ่โตอย่างเห็นได้ชัด อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ขาซึ่งเป็นใบพายทั้งคู่หน้าและคู่หลังมีเล็บหนึ่งเล็บในแต่ละข้าง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดกระดองหลังยาวประมาณ 85 เซนติเมตร กระดองท้อง 60 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 70 กิโลกรัม กินอาหารจำพวก สัตว์น้ำมีเปลือกและหอย เป็นอาหารหลัก
พบน้อยมากที่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบน้อยมาก และไม่พบรายงานว่ามีการขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว



เต่าหญ้า

เต่าหญ้า หรือ เต่าสังกะสี หรือ เต่าหญ้าแปซิฟิกเป็นเต่าทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาล เกล็ดบนกระดองมีลักษณะซ้อนกันเหมือนสังกะสีมุงหลังคา อันเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่ง ส่วนท้องมีสีเหลืองออกขาว หัวค่อนข้างโต ดวงตาปูนโปนออกมา กระดองมีความแข็งมาก ริมฝีปากสั้นทู่และคมแข็งแรงมากเพื่อใช้สำหรับขบกัดกินสัตว์มีกระดองซึ่งเป็นอาหารหลัก ส่วนของกระดองและท้องเชื่อมต่อกัน เป็นเต่าทะเลที่ว่ายน้ำได้เร็วมาก โดยอาจว่ายได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมงพบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในมหาสมุทรแอตแลนติกพบน้อยมาก กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง, ปลา, แมงกะพรุน, ปู, หอย, สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล
 ในน่านน้ำไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยจะพบได้น้อยกว่า จัดเป็นเต่าทะเลอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อบมากในน่านน้ำไทย





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น