แมงกระพุน

                  แมงกะพรุน หรือ กะพรุน(อังกฤษ: Jellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไนดาเรีย ไฟลัมย่อยเมดูโซซัว แบ่งออกเป็นอันดับได้ 5 อันดับ  ลักษณะลำตัวใสและนิ่มมีโพรงทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารมีเข็มพิษที่บริเวณหนวดที่อยู่ด้านล่าง ไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ เมื่อโตเต็มวัย ส่วนประกอบหลักในลำตัวเป็นน้ำร้อยละ 94-98 ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร พบได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลกแมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกันแมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายประกอบด้วยเจลาตินเป็นส่วนใหญ่ สามารถมองเห็นเข้าไปได้ถึงอวัยวะภายใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองหรือหัวใจลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า "เมดูซ่า" ซึ่งศัพท์คำนี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกันแมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 505 หรือ 600 ล้านปีมีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศแมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปาก เรียกว่า "มีนีมาโตซีส" หรือเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อ หรือทำให้เหยื่อสลบก่อนจับกินเป็นอาหาร ซึ่งโดยมากเป็น ปลา และใช้สำหรับป้องกันตัว ปริมาณของนีมาโตซีสอาจมีจำนวนถึง 80,000 เซลล์ ใน 1 ตารางเซนติเมตรเท่านั้น ภายในนีมาโตซีสนี้เองมีน้ำพิษที่เป็นอันตรายทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่น บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรังได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับแมงกะพรุนแต่ละชนิด ในชนิด Chironex fleckeri ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้นซึ่งมีผลทางระบบโลหิต โดยไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตลงได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

แมงกะพรุนหนัง

                    แมงกะพรุนหนัง เป็นแมงกะพรุนแท้ คือ แมงกะพรุนที่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว มีร่างกายเป็นก้อนคล้ายวุ้นโปร่งใส ไม่มีสี มีรูปร่างคล้ายร่ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร บริเวณขอบร่มเป็นริ้วตรงกลางด้านเว้ามีส่วนยื่นออกไปเป็นช่อคล้ายดอกกะหล่ำที่มีปากอยู่ตรงกลางแมงกะพรุนหนังดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอน ไม่สามารถว่ายน้ำได้เองแต่จะมีการเคลื่อนที่ด้วยการล่องลอยไปตามกระแสน้ำและการพัดพาไปตามคลื่นลมโดยแมงกะพรุนหนังจัดเป็นแมงกะพรุนที่สามารถรับประทานได้ ชาวประมงจะจับกันในเวลากลางคืน ด้วยการล่อด้วยแสงไฟสีเขียว เมื่อได้แล้วจะนำไปล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตและสารส้ม เพื่อให้เมือกหลุดจากตัวแมงกะพรุนและทำให้มีเนื้อที่แข็งขึ้น ก่อนจะนำไปพักไว้ เพื่อปรุงหรือเป็นส่วนผสมในอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ยำ เย็นตาโฟ หรือสุกี้



  
แมงกะพรุนสาหร่ายหรือ สาโหร่ง

           แมงกะพรุนสาหร่าย หรือที่ชาวประมงชาวไทยนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "สาหร่ายทะเล" เป็นแมงกะพรุนสีขาว หรือเหลืองแกมแดง มีสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ 1.50 เมตร มีการเคลื่อนไหวได้น้อย อาศัยกระแสน้ำพัดพาไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อมีพายุคลื่นลมแรง หนวดจะขาดจากลำตัว ลอยไปตามน้ำ แต่ยังสามารถทำอันตรายผู้ที่สัมผัสถูกได้ ซึ่งทำให้ไหม้เกรียม และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามกล้ามเนื้อ จุกแน่นหน้าอกในรายที่แพ้รุนแรง และเป็นไข้ อาการเป็นอยู่ 2-3 วัน จึงทุเลาหายไป แต่อาการหนักก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็นแมงกะพรุนที่ีมีถิ่นแพร่กระจายอยู่ทะเลน้ำตื้นรวมถึงป่าชายเลนแถบตอนเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบแถบทะเลชุมพร และหัวหิน



แมงกะพรุนพระจันทร์


             แมงกะพรุนพระจันทร์ เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังมีรูปร่างคล้ายกับถ้วย คือ เมดูซ่าด้านบนของร่างกายจะโค้งนูน ส่วนด้านล่างเว้าเข้าเป็นด้านที่มีปาก ตรงบริเวณขอบมีนวดโดยรอบและมีอวัยวะรับความรู้สึกที่เรียกว่า เทนตาคูโลซีสต์ เรียงอยู่ตรงขอบเป็นระยะ ๆ เทนตาโคลูซีสต์แต่ละหน่วยประกอบด้วย ด้านล่างของลำตัวเป็นช่องปากอยู่บนมานูเบรียม รอบ ๆ ปากมีออรัลอาร์ม ลักษณะแบนและยาวรวม 4 อัน บริเวณนี้มีเนมาโตซิสต์ หรือเข็มพิษอยู่มาก ออรัลอาร์มทำหน้าที่จับเหยื่อเข้าปากเช่นเดียวกับหนวดของไฮดรา ต่อจากช่องปากเป็นเอนเตอรอนซึ่งแยกออกเป็น 4 กระเปาะ ต่อจากกระเปาะแต่ละอันมีท่อรัศมีมากมายผ่านมีโซเกลียไปยังท่อวงแหวน ที่อยู่รอบขอบของร่างกาย และในแต่ละกระเปาะจะมีอวัยวะสืบพันธุ์รูปตัวยู กระเปาะละอัน ติดอยู่กับพื้นล่างของเยื่อแกสโตรเดอร์มีส ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ผิวนอกของร่างกายทั้งหมดเป็นเซลล์เอปิเดอร์มี ส่วนเซลล์ที่บุในระบบย่อยอาหาร ตลอดจนท่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์เป็นเซลล์ในชั้นแกสโตรเดอร์มีสแมงกะพรุนพระจันทร์ ถือเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษ แต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นมีอันตรายต่อชีวิต อาศัยอยู่ทั้งในเขตน้ำตื้นและน้ำลึก ในช่วงเช้าส่วนมากจะพบมากในเขตน้ำตื้น เพราะจะถูกน้ำทะเลพัดมาในเวลากลางคืน และก็จะหาอาหารในเขตน้ำตื้นไปด้วยในช่วงที่อยู่ในเขตน้ำตื้น ซึ่งอาหารก็ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ โดยการใช้เข็มพิษให้หมดสติ และกินเป็นอาหาร



แมงกะพรุนไฟ

โดยแมงกะพรุนไฟ มีลักษณะทั่วไปคล้ายร่ม แต่มีสีลำตัวและหนวดเป็นสีแดงสดหรือสีส้ม ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป สังเกตได้ง่าย ปากและหนวดยื่นออกมาทางด้านล่างหรือด้านท้อง เส้นหนวดมีจำนวนมากเป็นสายยาวกว่าลำตัว พบในทะเลทั้งบริเวณชายฝั่งและไกลฝั่ง ในช่วงฤดูมรสุมอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย จัดเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากอีกจำพวกหนึ่ง เมื่อโดนต่อยจากเข็มพิษแล้วจะมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณบาดแผล จะมีอาการเจ็บ ปวดบริเวณบาดแผลอย่างรุนแรงภายในระยะเวลา 2-3 นาที บางครั้งอาจพบหนวดแมงกะพรุนขาดติดอยู่บนผิวสัมผัส ผิวหนังมีแนวผื่นแดง หรือรอยไหม้ ตามรอยหนวด ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงจากการอักเสบและอาจเป็นหนองจากการติดเชื้อสำทับ อาการบวมแดงอาจหายไปได้ในเวลาไม่ช้า แต่รอยไหม้และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หรืออยู่ถาวรตลอดไป นอกจากนี้อาจมีอาการไอ, น้ำมูกและน้ำตาไหล และอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว, อ่อนเพลีย และหมดสติ จากการฉีดพิษที่สกัดจากแมงกะพรุนไฟเข้าไปในสัตว์ทดลองพบว่าทำให้การทำงานของตับและไตผิดปรกติ จนอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมนุษย์



แมงกะพรุนอิรุคันจิ


             แมงกะพรุนอิรุคันจิ เป็นชื่อสามัญแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดจำพวกหนึ่งของโลก จัดเป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่อง หรือ คูโบซัวโดยแมงกะพรุนอิรุคันจินั้นจะเป็นแมงกะพรุนที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเพียงไม่เกิน 1 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 1 ออนซ์ มีลำตัวโปร่งใส และมีหนวดที่มีเข็มพิษจำนวนมากมายที่มีพิษต่อระบบโลหิต โดยจะทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแมงกะพรุนที่อาจเรียกได้ว่าเป็แมงกะพรุนอิรุคันจินั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ Carukia barnesi, Malo kingi, Alatina alata และชนิดใหม่ คือ Malo maxima[โดยชื่อ "อิรุคันจิ" นั้นมีที่มาจากชาวเผ่าอิรุคันจิ ชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลียที่มีตำนานเล่าขานต่อกันมาเกี่ยวกับความเจ็บปวดและอันตรายของแมงกะพรุนจำพวกนี้หากได้สัมผัสเข้าแมงกะพรุนอิรุคันจิ ได้ถูกศึกษาครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เคยถูกพิษของมันแทงเข้า ได้ลงไปจับในทะเลทางตอนเหนือของออสเตรเลียเพื่อศึกษา
เดิมทีแมงกะพรุนอิรุคันจิ เผยกระจายพันธุ์แต่เฉพาะทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันได้มีรายงานพบในหลายพื้นที่มากขึ้น เช่น ฮาวาย, ญี่ปุ่น, ฟลอริดา รวมถึงในประเทศไทยพิษของแมงกะพรุนอิรุคันจิ ทำให้ผู้ที่โดนเข็มพิษของแมงกะพรุนจำพวกนี้แทงถูกมีอาการที่เรียกว่า "อาการอิรุคันจิ"




แมงกะพรุนโนะมุระ


              แมงกะพรุนโนะมุระ แพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วในน่านน่้ำญี่ปุ่น โดยอุตสาหกรรมประมงที่เคยจับปลาได้คราวละหลายล้านตัน ต้องตกตะลึงเมื่ออวนลากพบแต่แมงกะพรุนชนิดนี้เต็มไปหมด นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 จำนวนประชากรในญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นหลายพันล้านตัว จากเดิมที่เคยแพร่ขยายพันธุ์ครั้งใหญ่คราวละ 40 ปี ปัจจุบันคาดการณ์ว่ามีประมาณ 2 หมื่นล้านตัว มากกว่าประชากรมนุษย์บนโลกถึง 3 เท่าแมงกะพรุนโนะมุระขนาดใหญ่สุดมีน้ำหนักได้มากถึง 450 ปอนด์ และมีเส้นรอบวงประมาณ 12 ฟุต การแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วของแมงกะพรุนโมมูระทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องเร่งทำการศึกษาและหยุดยั้งการแพร่ขยายพันธุ์ จากการศึกษาวิจัยโดยเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม พบว่าแมงกะพรุนโนะมุระมีพฤติกรรมที่ตะกละตะกลามมาก โดยหนึ่งตัวจะกินแพลงก์ตอนสัตว์คราวละมาก ๆ เทียบเท่ากับจำนวนเต็มทั้งสระว่ายน้ำโอลิมปิกได้ทั้งสระภายในหนึ่งวันในเวลากลางวัน แพลงก์ตอนสัตว์จะลอยตัวขึ้นเหนือน้ำ แมงกะพรุนโนะมุระจะลอยตามตัว เมื่อตกกลางคืนแพลงก์ตอนสัตว์ก็จะดำดิ่งลงไป แมงกะพรุนโนะมุระก็จะลอยตัวลงต่ำตามไปด้วย และจากการศึกษาพบว่า เมื่อผ่าตัวหรือจับขึ้นมาแล้ว แมงกะพรุนโนะมุระตัวเมียจะปล่อยไข่หลายล้านฟอง และตัวผู้ก็มีสเปิร์มหลายล้านตัว เมื่อถูกจู่โจมไข่และสเปิร์มจะถูกปฏิสนธิทันที ไข่ที่สุกแล้วจะจมลงไปสู่พื้นทะเลเพื่อรอการเจริญเติบโตไป โดยสามารถอยู่รอดได้หลายปีหรือแม้กระทั้งหลายสิบปี จนกระทั่งถูกภาวะบางประการกระตุ้น แมงกะพรุนตัวอ่อนจะลอยตัวขึ้นมาสู่ท้องทะเลทันที โดยภาวะที่ไปกระตุ้นให้แมงกะพรุนเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างน่าตกตะลึงนั้น เชื่อว่าเป็นผลมาจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น น้ำที่มีมลพิษ[2] ที่ส่งผลให้แพลงก์ตอนต่าง ๆ มีธาตุอาหารมากขึ้น ซึ่งก็เป็นอาหารของแมงกะพรุนด้วย ตลอดจนสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ในกรณีของแมงกะพรุนโนะมุระนั้นเชื่อว่าเป็นผลมาจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งเรียงรายบริเวณปากแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมใหญ่และเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกด้วย












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น